HOT PAD OR HEATING PAD

เป็นเครื่องมือกลุ่ม SUPERFICIAL HEAT สามารถให้ความร้อนลึกประมาณ 2-4 เซนติเมตร ทำให้เนื้อเยื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3  องศา ชนิดที่นิยมใช้คือ Electric heating pads ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้ามาทำให้เกิดความร้อน วิธีใช้ค่อนข้างสะดวกเพียงแค่เสียบปลั๊กไฟแล้วปรับระดับความร้อนที่ต้องการซึ่งจะปรับได้ แล้วแต่แบบและรุ่นที่ผลิต ข้อควรระวังในการใช้คือ ระวังไฟช๊อต โดยเฉพาะถ้าใช้ร่วมกับผ้าขนหนูที่เปียกชื้นต้องหมั่นสำรวจว่าฉนวนที่หุ้มยังคงมีสภาพปกติดีอยู่ และไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนทับบน heating pad ควรจะวางประคบไว้ข้างบน เพราะอาจเกิด burn ได้เนื่องจากได้รับความร้อนมากเกินไปในบางตำแหน่งที่นอนกดทับเช่น บริเวณปุ่มกระดูก โดยเฉพาะในผู้ที่มีรูปร่างผอมบางมีชั้นไขมันน้อย     

ผลทางสรีรวิทยาของความร้อน

1.ระบบหมุนเวียนโลหิต

ความร้อนทำให้เส้นเลือดขยายตัวทำให้เพิ่มการหมุนเวียนของ สารอาหาร เม็ดโลหิตขาว และ antibodies เข้าไป และขับสารคั่งค้าง( Metabolic byproduct ) ต่างๆรวมทั้งเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกมา ทำให้การอักเสบลดลงได้ในระยะรองเฉียบพลัน(Subacute) และระยะเรื้อรัง(Chronic)

แต่ถ้าให้ความร้อนในระยะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน ( Acute inflammation ) จะทำให้มีการอักเสบและบวม(edema) เพิ่มขึ้นได้

2.  ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ความเร็วของการเหนี่ยวนำกระแสประสาท ( Nerve conduction velocity) เพิ่มขึ้น(3)

3. ข้อต่อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ความร้อนทำให้การดัดยืดเนื้อเยื่อทำได้ง่ายขึ้น ( Increase extensibility) เพิ่มขบวนการเมตาบอลิซึมของเอนไซม์ในใยคลอลาเจน ( Collagenase activity )  และลดความฝืดของข้อ

4.  อื่นๆ

ความร้อนสามารถลดอาการปวดและทำให้เกิดความผ่อนคลาย ( Relaxation) ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลจากหลายปัจจัย เช่น ความร้อนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการเหนี่ยวนำกระแสประสาท ทำให้สารที่กระตุ้นความเจ็บปวดถูกขับออกไป ทำให้เพิ่มระดับ pain threshold  เป็นต้น

         ข้อบ่งชี้ในการให้ความร้อน คือ โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น tendinitis , tenosynovitis , bursitis , capsulitis , myofascial pain เป็นต้น อาการปวดจากพยาธิสภาพของเส้นประสาท เช่น neuromas , postherpetic neuralgia  ข้ออักเสบ ข้อยึดติด ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เป็นต้น      

         ข้อควรระวังในการใช้ความร้อน  คือ หลีกเลี่ยงการให้ความร้อนในขณะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน บริเวณที่มีปัญหาของระบบหมุนเวียนโลหิต ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย มีอาการบวม บริเวณแผลเป็นขนาดใหญ่ บริเวณที่มีปัญหาในการรับความรู้สึกและบริเวณที่มีเซลล์มะเร็ง

Reference : ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย


สอบถามโปรโมชั่น จองคิวรับบริการ ปรึกษาทุกช่องทาง
นักกายภาพและคุณหมอตอบเองค่ะ

เปิดทุกวัน 10.00 - 20.00 น.   Tel : 083-9487467
 
สามารถคลิกที่รูปภาพด้านล่างได้เลย
 
             
 
Motion care clinic  ลง BTS เพลินจิต ทางออก 2  ชั้น 1 อาคารมหาทุนพลาซ่า  

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้